เป็นธรรมดาที่ท่านจะรู้สึกวิตกกังวลเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับโรคไอบีดี (inflammatory bowel disease, IBD) แม้ความเศร้า หรือเครียดจากโรคไอบีดีอาจเกิดขึ้น เป็นครั้งคราว แต่สำคัญอย่างยิ่งที่ท่านจะต้องพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหากมีอาการเรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์ ภาวะซึมเศร้าพบบ่อยกว่าในผู้ป่วยโรคโครห์น (Crohn's disease) และโรคลำไส้อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (ulcerative colitis) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยโรคอื่น และประชากรทั่วไป นอกจากนี้ภาวะวิตกกังวลก็พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไอบีดีเช่นเดียวกัน ท่านต้องตระหนักถึงสัญญาณที่แสดงว่าท่านกำลังเผชิญปัญหาทางอารมณ์ และพบผู้เชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพเช่นเดียวกับเมื่อท่านมีอาการป่วยทางกาย
ข้อมูลดังต่อไปนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจ และสามารถรับมือกับผลกระทบด้านอารมณ์ของโรคไอบีดี
ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์อันเป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกเศร้าและสูญเสียความสนใจ ภาวะซึมเศร้าอาจทำให้ท่านรู้สึกเหนื่อยล้า ไร้ค่า อับจนหนทาง และสิ้นหวัง นอกจากนี้ยังส่งผลให้การทำกิจกรรมประจำวันกลายเป็นเรื่องยาก กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกับโรคเรื้อรังอาจดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ภาวะซึมเศร้า มักรุนแรงขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา เราสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้ใบประเมินจากบุคลากรด้านการดูแลสุขภาพทั้งอาการทางกายจากโรคไอบีดี และอาการทางอารมณ์
ท่านควรได้รับการประเมินจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญหากท่านมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์ ดังนี้
ภาวะซึมเศร้ารักษาได้ ท่านควรปรึกษานักบำบัดซึ่งมีประสบการณ์รักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การรักษาอาการซึมเศร้ามักใช้เวลาในการรักษาแต่การเข้ารับการรักษา สามารถช่วยให้ท่านมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นทั้งด้านอารมณ์ คุณภาพชีวิต และการรับมือกับโรคไอบีดี
การบำบัดความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy, CBT)
การรักษายืนยันว่าได้ผลดีสำหรับภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล ท่านและนักจิตบำบัดจะร่วมกันระบุสาเหตุ และเปลี่ยนรูปแบบความคิด รวมถึงพฤติกรรมที่ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า
การรักษาด้วยยา
ยาอาจมีความจำเป็นควบคู่กับการบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ แพทย์เฉพาะทางโรคทางเดินอาหารของท่าน อาจพิจารณาสั่งยาต้านซึมเศร้าเพื่อรักษาสภาวะอารมณ์ของท่านให้คงที่ หรืออาจแนะนำให้ท่านปรึกษาจิตแพทย์
มีหลายสิ่งที่ท่านสามารถทำได้เพื่อรับมือกับความรู้สึกเชิงลบระหว่างที่ท่านกำลังได้รับการรักษาภาวะซึมเศร้า เราต้องเข้าใจตรงกันว่าการรู้สึกดีขึ้นนั้นต้องใช้เวลา อารมณ์ของท่านจะไม่ดีขึ้นทันทีแต่จะดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีคำแนะนำดังนี้
ภาวะวิตกกังวลประกอบด้วยความรู้สึกตื่นตระหนก กังวล และวิตก เมื่อภาวะวิตกกังวลเริ่มเรื้อรัง และรุนแรงก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตของท่าน
ท่านอาจพิจารณาเข้าคอร์สบำบัดภาวะวิตกกังวล หรือขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต หากอาการดังต่อไปนี้รบกวนท่านต่อเนื่องหลายวันในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา และส่งผลกระทบต่อท่านทั้งในแง่ การทำงานและความสัมพันธ์
เป็นธรรมดาที่ท่านจะรู้สึกกังวล และเครียดกับการดูแลโรคของท่าน อย่างไรก็ดีการลดความเครียด และวิตกกังวลจะช่วยให้ท่านรักษาสมดุลที่ดีของอารมณ์
ความเครียดเป็นการตอบสนองทางฮอร์โมนต่อสถานการณ์ซึ่งบังคับให้ท่านต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เร่งไปประชุมให้ทันเวลา หรือรับมือกับการเจ็บป่วยครั้งใหญ่ การหลั่งฮอร์โมนดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้ตัดสินใจที่จะ "สู้ หรือ หนี" และเป็นสาเหตุให้ร่างกายตอบสนองในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น เหงื่อแตก และกล้ามเนื้อเกร็งตัว
ความเครียดไม่ได้เลวร้ายเสียทั้งหมด! ทุกคนล้วนแต่ต้องพบกับความเครียดระดับหนึ่ง เพื่อที่จะดำเนินชีวิตประจำวัน การมี "ความเครียดที่ดี" อยู่บ้างจะกระตุ้นให้ท่าน มีศักยภาพที่ดี หลีกเลี่ยงอันตราย หรือรู้สึกตื่นเต้น
การเผชิญกับปัจจัยก่อความเครียด เช่น เหตุการณ์ที่สร้างความเจ็บปวด หรือการเปลี่ยนวิถีชีวิตในทางลบสามารถกระตุ้น "ความเครียดที่เลว" ซึ่งอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพกาย และจิตของท่าน ความเครียดที่เลวอาจเกิดจากโรคไอบีดีโดยเฉพาะ เมื่อท่านกังวลว่าอาการจะส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันอย่างไร
ท่านอาจใช้การแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นที่อารมณ์ (emotion-focused strategies) เมื่อเผชิญหน้ากับปัจจัยก่อความเครียดที่ท่านไม่สามารถควบคุมได้ ดังนี้